@senanur.trk: 🦋🦋🦋 | #fy

🦋
🦋
Open In TikTok:
Region: DE
Monday 29 July 2024 20:45:25 GMT
2860
206
2
3

Music

Download

Comments

kara.vic
Kara Vic :
😍😍
2024-07-29 20:48:42
0
kara.vic
Kara Vic :
🥰🌹🌹🌹🌹🌹🌹💋💋
2024-07-29 20:48:39
0
To see more videos from user @senanur.trk, please go to the Tikwm homepage.

Other Videos

❌❌ เจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ห้าง 1,000 ล้าน คือใคร  ?  ถ้าพูดถึงศูนย์การค้าขนาดใหญ่โซนรังสิต-ปทุมธานี หลายคนน่าจะนึกถึงที่เดียวกัน นั่นก็คือ “ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต” . ศูนย์การค้าที่มีห้างหลายแห่งอยู่รวมกัน มีคนมาเดินกว่า 180,000 คนต่อวัน และทำรายได้ปีละหลักพันล้านบาท . แล้วรู้หรือไม่ว่า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต มีเจ้าของเดียวกันกับ ตลาดรังสิต น้ำมันพืชตรากุ๊ก รวมถึงวุ้นเส้นตราต้นสนด้วย . แล้วเจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต คือใคร ? . ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต บริหารงานโดย บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด  . เป็นหนึ่งในธุรกิจของ “หวั่งหลี” ตระกูลนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เข้ามาตั้งรกรากในไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 . หวั่งหลี สืบทอดตระกูลกันมาหลายรุ่น หลายสาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ สายพูลผล ที่เป็นเจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต  . จุดเริ่มต้นของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต มาจากความสำเร็จของ ตลาดรังสิต ที่คุณสายสุคนธ์ หวั่งหลี และคุณสุกิจ หวั่งหลี ร่วมกันพัฒนาบนพื้นที่ 70 กว่าไร่ ภายใต้ บริษัท รังสิตร่วมพัฒนา จำกัด . ต่อมาจึงเกิดไอเดีย อยากพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นที่ย่านรังสิต บนที่ดินที่มีอยู่แล้วของตระกูล 600 กว่าไร่  . จนในที่สุดก็ได้จับมือกับโรบินสัน พัฒนาศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ขึ้นมาในปี 2535 โดยในตอนแรกฝั่งหวั่งหลี ถือหุ้นอยู่ 51% . แต่ในปีเดียวกันนั้น เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้นมา ฝั่งโรบินสันเลยตัดสินใจถอนหุ้นออก ตั้งแต่ยังไม่ได้เปิดศูนย์การค้า เลยทำให้กลุ่มหวั่งหลีถือหุ้นอยู่ 80% . แม้จะถูกถอนทุน และไม่มีประสบการณ์ทำศูนย์การค้ามาก่อน แต่ตระกูลหวั่งหลีก็ไม่หมดหวัง และต้องการทำให้ที่ดินผืนนี้เป็นศูนย์การค้า ที่มีห้างค้าปลีกใหญ่ ๆ มารวมกันอยู่ในที่เดียว . และในปี 2538 ห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ก็ได้เปิดให้บริการ โดยได้รับการตอบรับที่ดี ว่าเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในสมัยนั้น . มาถึงวันนี้ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต คือศูนย์การค้าที่ประกอบด้วยห้างชั้นนำมากที่สุดในไทย ตามความตั้งใจของตระกูลหวั่งหลี . เพราะมีทั้งเซ็นทรัล, โรบินสัน, บิ๊กซี, เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอร์ต, บีทูเอส, ท็อปส์, โฮมโปร และอินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง มอลล์ อยู่ในพื้นที่ของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต . รวมถึงการขยายพื้นที่ศูนย์การค้า พัฒนาเป็นสเปลล์ แอท ฟิวเจอร์พาร์ค จากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนและที่จอดรถ เรียกรวม ๆ ว่า ฟิวเจอร์ซิตี้ . และถ้าจะบอกว่าฟิวเจอร์ซิตี้ คือเมืองขนาดย่อม ๆ ก็ไม่ผิดนัก เพราะนอกจากจะมีศูนย์การค้า ยังมีโรงหนัง, โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสัตว์ อีกด้วย . ทีนี้ เรามาดูผลประกอบการของ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด กัน . ปี 2563 รายได้ 1,180 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 1,043 ล้านบาท ขาดทุน 45 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 1,770 ล้านบาท กำไร 322 ล้านบาท . เรื่องที่น่าสนใจก็คือ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต นั้น มียอดผู้มาใช้บริการเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 180,000 คนต่อวัน . และมีอัตราการเช่าพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 96% ของพื้นที่ทั้งหมด . ถ้าถามว่าทำไม ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ถึงประสบความสำเร็จ และมีคนมาเดินเป็นแสนคน . อย่างแรกเลยก็คือ “ทำเลที่ดี”  เพราะฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ทั้งอยู่ใกล้กับหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงหมู่บ้านจัดสรร โซนรังสิต-ปทุมธานี . และยังไม่ไกลจากนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี . อีกเหตุผลคือ “ใหญ่และครบครัน” เนื่องจากแถวนั้นไม่มีศูนย์การค้าใหญ่ และมีร้านเยอะเท่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต แล้ว . ศูนย์การค้าที่อยู่ไม่ไกลคือ เซียร์ รังสิต ศูนย์รวม IT หรือไม่ก็เป็นแนวซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างโลตัส และบิ๊กซี ไม่ได้มีร้านเยอะเท่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต . อย่างที่บอกไปว่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เป็นเหมือนเมืองขนาดย่อม ซึ่งมีทุกห้างและเกือบทุกร้านดังที่ในเมืองมี  . รวมถึงมีกิจกรรมอื่นให้ทำ เช่น ที่เล่นสกี และลานไอซ์สเกต  . นั่นทำให้ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กลายมาเป็นศูนย์การค้าที่รวมสิ่งที่คนต้องการไว้ในที่เดียว อย่างที่ตระกูลหวั่งหลีตั้งใจไว้ในตอนแรก . นอกจากจะประสบความสำเร็จ ในการสร้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิตแล้ว ตระกูลหวั่งหลี ยังเป็นเจ้าของน้ำมันพืชตรากุ๊ก วุ้นเส้นตราต้นสน ตึกออฟฟิศสาทรธานี และ ตลาดรังสิต ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกตระกูล เจ้าของกิจการ และ แบรนด์ฮิต ติดชีวิตประจำวัน ของคนไทย . ขอบคุณข้อมูล
❌❌ เจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ห้าง 1,000 ล้าน คือใคร ? ถ้าพูดถึงศูนย์การค้าขนาดใหญ่โซนรังสิต-ปทุมธานี หลายคนน่าจะนึกถึงที่เดียวกัน นั่นก็คือ “ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต” . ศูนย์การค้าที่มีห้างหลายแห่งอยู่รวมกัน มีคนมาเดินกว่า 180,000 คนต่อวัน และทำรายได้ปีละหลักพันล้านบาท . แล้วรู้หรือไม่ว่า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต มีเจ้าของเดียวกันกับ ตลาดรังสิต น้ำมันพืชตรากุ๊ก รวมถึงวุ้นเส้นตราต้นสนด้วย . แล้วเจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต คือใคร ? . ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต บริหารงานโดย บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด . เป็นหนึ่งในธุรกิจของ “หวั่งหลี” ตระกูลนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน ที่เข้ามาตั้งรกรากในไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 . หวั่งหลี สืบทอดตระกูลกันมาหลายรุ่น หลายสาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ สายพูลผล ที่เป็นเจ้าของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต . จุดเริ่มต้นของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต มาจากความสำเร็จของ ตลาดรังสิต ที่คุณสายสุคนธ์ หวั่งหลี และคุณสุกิจ หวั่งหลี ร่วมกันพัฒนาบนพื้นที่ 70 กว่าไร่ ภายใต้ บริษัท รังสิตร่วมพัฒนา จำกัด . ต่อมาจึงเกิดไอเดีย อยากพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นที่ย่านรังสิต บนที่ดินที่มีอยู่แล้วของตระกูล 600 กว่าไร่ . จนในที่สุดก็ได้จับมือกับโรบินสัน พัฒนาศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ขึ้นมาในปี 2535 โดยในตอนแรกฝั่งหวั่งหลี ถือหุ้นอยู่ 51% . แต่ในปีเดียวกันนั้น เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้นมา ฝั่งโรบินสันเลยตัดสินใจถอนหุ้นออก ตั้งแต่ยังไม่ได้เปิดศูนย์การค้า เลยทำให้กลุ่มหวั่งหลีถือหุ้นอยู่ 80% . แม้จะถูกถอนทุน และไม่มีประสบการณ์ทำศูนย์การค้ามาก่อน แต่ตระกูลหวั่งหลีก็ไม่หมดหวัง และต้องการทำให้ที่ดินผืนนี้เป็นศูนย์การค้า ที่มีห้างค้าปลีกใหญ่ ๆ มารวมกันอยู่ในที่เดียว . และในปี 2538 ห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ก็ได้เปิดให้บริการ โดยได้รับการตอบรับที่ดี ว่าเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในสมัยนั้น . มาถึงวันนี้ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต คือศูนย์การค้าที่ประกอบด้วยห้างชั้นนำมากที่สุดในไทย ตามความตั้งใจของตระกูลหวั่งหลี . เพราะมีทั้งเซ็นทรัล, โรบินสัน, บิ๊กซี, เพาเวอร์บาย, ซูเปอร์สปอร์ต, บีทูเอส, ท็อปส์, โฮมโปร และอินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง มอลล์ อยู่ในพื้นที่ของฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต . รวมถึงการขยายพื้นที่ศูนย์การค้า พัฒนาเป็นสเปลล์ แอท ฟิวเจอร์พาร์ค จากพื้นที่ที่เคยเป็นสวนและที่จอดรถ เรียกรวม ๆ ว่า ฟิวเจอร์ซิตี้ . และถ้าจะบอกว่าฟิวเจอร์ซิตี้ คือเมืองขนาดย่อม ๆ ก็ไม่ผิดนัก เพราะนอกจากจะมีศูนย์การค้า ยังมีโรงหนัง, โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสัตว์ อีกด้วย . ทีนี้ เรามาดูผลประกอบการของ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด กัน . ปี 2563 รายได้ 1,180 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 1,043 ล้านบาท ขาดทุน 45 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 1,770 ล้านบาท กำไร 322 ล้านบาท . เรื่องที่น่าสนใจก็คือ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต นั้น มียอดผู้มาใช้บริการเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 180,000 คนต่อวัน . และมีอัตราการเช่าพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 96% ของพื้นที่ทั้งหมด . ถ้าถามว่าทำไม ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ถึงประสบความสำเร็จ และมีคนมาเดินเป็นแสนคน . อย่างแรกเลยก็คือ “ทำเลที่ดี” เพราะฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ทั้งอยู่ใกล้กับหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงหมู่บ้านจัดสรร โซนรังสิต-ปทุมธานี . และยังไม่ไกลจากนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี . อีกเหตุผลคือ “ใหญ่และครบครัน” เนื่องจากแถวนั้นไม่มีศูนย์การค้าใหญ่ และมีร้านเยอะเท่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต แล้ว . ศูนย์การค้าที่อยู่ไม่ไกลคือ เซียร์ รังสิต ศูนย์รวม IT หรือไม่ก็เป็นแนวซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างโลตัส และบิ๊กซี ไม่ได้มีร้านเยอะเท่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต . อย่างที่บอกไปว่าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เป็นเหมือนเมืองขนาดย่อม ซึ่งมีทุกห้างและเกือบทุกร้านดังที่ในเมืองมี . รวมถึงมีกิจกรรมอื่นให้ทำ เช่น ที่เล่นสกี และลานไอซ์สเกต . นั่นทำให้ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กลายมาเป็นศูนย์การค้าที่รวมสิ่งที่คนต้องการไว้ในที่เดียว อย่างที่ตระกูลหวั่งหลีตั้งใจไว้ในตอนแรก . นอกจากจะประสบความสำเร็จ ในการสร้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิตแล้ว ตระกูลหวั่งหลี ยังเป็นเจ้าของน้ำมันพืชตรากุ๊ก วุ้นเส้นตราต้นสน ตึกออฟฟิศสาทรธานี และ ตลาดรังสิต ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกตระกูล เจ้าของกิจการ และ แบรนด์ฮิต ติดชีวิตประจำวัน ของคนไทย . ขอบคุณข้อมูล

About