@iblizmanizz_023: #fotostud

IG:IBLIZ MANIZZ_023
IG:IBLIZ MANIZZ_023
Open In TikTok:
Region: ID
Wednesday 28 August 2024 03:13:44 GMT
1987
135
2
1

Music

Download

Comments

rendiy67
Emon🤔21 :
😎😎😎😎😎😁😁
2024-08-28 07:24:10
0
anak_bugis_sinjai
kallolona Sinjai timur :
adakh gacor gacor spill dong aulia sama putee
2024-09-06 10:48:23
0
To see more videos from user @iblizmanizz_023, please go to the Tikwm homepage.

Other Videos

การแสดงตลกเอกเทศ ชุด “เทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง)” . มีคนส่งเข้ามาถามว่า ในคลิป (ฝั่งขวา) คนกัมพูชาแสดงอะไร ทำไมคล้ายกับของไทย (ฝั่งซ้าย) ก็ต้องบอกว่า คล้ายจริง ๆ ทั้งการแสดง ท่าทาง เพลงที่ใช้ (ดัดแปลงเป็นภาษาเขมร) รวมถึงชุดที่ใส่ด้วย แอดมินก็ไปค้นหาการแสดงลักษณะนี้ของเขมรมา ก็พบคลิปที่เก่าสุด เป็นคลิปปี ๒๕๓๔ (1991) แต่ตอนนั้นสิ่งที่แตกต่าง คือ “ลอมพอก (สวมหัว)” ตอนนั้นที่ใช้สวมเป็นทรงที่เขมรเคยใช้มาตลอดเป็นแบบโค้ง ๆ แต่ในคลิปปี ๒๕๖๗ นี้เห็นชัดว่า เขมรหันมาใช้ “ลอมพอก” แบบไทยเลย (หรืออาจจะมาซื้อที่ไทยก็เป็นไปได้) งั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักหนึ่งในการแสดงของไทย ที่คนทั่วไปไม่ค่อยจะรู้จักกัน . ในการแสดงชุดเทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง) ซึ่งเป็นการแสดงตลกเอกเทศ ไม่ต้องอิงกับการแสดงชุดอื่น ๆ ผู้เล่นต้องมีความสามารถค่อนข้างมาก ทั้งรู้ท่ารำ รู้จักทำนองเพลงต่าง ๆ รวมทั้งทำนอง เพลงสิบสองภาษาด้วย ในส่วนนี้จะเป็นเพลง “โนเน” ซึ่งในการแสดงเทวดาเบญจพรรณจะต้องมีทุกครั้ง ในส่วนหลังจะเป็นออกทำนองเพลงสิบสองภาษา . การแสดงเทวดาเบญจพรรณนั้น เป็นการแสดงที่มีมาแต่โบราณเชื่อมกันระหว่าง “โขน” กับ “สวดคฤหัสถ์” ใช้เพลง “โนเน (ยายโนเน)” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านพื้นถิ่นของชุมชนบ้านบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มาประกอบการแสดง เดิมแล้วเพลงนี้ เป็นเพลงเกี้ยวกันระหว่างหนุ่มสาวรามัญหงสาวดี ที่อพยพติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมา และมีการสืบต่อพัฒนามาเป็นเพลงพื้นบ้านของชุมชนบ้านบางเก่าจนถึงปัจจุบัน . ครูมืด ประสาท ทองอร่าม เคยเล่าว่า การแสดงเทวดาเบญจพรรณชุดนี้มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้ครูทั้ง ๒ ท่านที่ช่วยกันฟื้นฟูและประยุกต์ขึ้นมา เริ่มเมื่อประมาณ ๔๐-๕๐ ปีก่อน คือ ครูเสรี หวังในธรรม กับครูยอแสง ภักดีเทวา ที่สองท่านได้ร่วมแสดงด้วยกันมา ครูมืดเล่าต่อว่า ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักเพราะการแสดงชุดนี้ ไม่มีในหลักสูตรเรียนเหมือนตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ถ้าจะเรียนต้องมาเรียนกับครูโดนตรง และร่วมแสดงด้วยกัน . ในคลิปเป็นการแสดงเทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง) ปี ๒๕๓๒ ของศูนย์สังคีตศิลป์ ครั้งที่ ๔๘๔ ควบคุมการแสดงโดย อาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี ๒๕๓๑ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า  . โดยมีผู้แสดง ๓ ท่านด้วยกัน คือ  ๑. อ.ประพันธ์ ละมูลวงค์ (เป็นเทวดา) ๒. อ.ประสาท ทองอร่าม (เป็นลูกคู่) ๓. อ.ถนอม นวลอนันต์ (เป็นลูกคู่) . #โบราณนานมา #ตลกเอกเทศ #เทวดาเบญจพรรณ
การแสดงตลกเอกเทศ ชุด “เทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง)” . มีคนส่งเข้ามาถามว่า ในคลิป (ฝั่งขวา) คนกัมพูชาแสดงอะไร ทำไมคล้ายกับของไทย (ฝั่งซ้าย) ก็ต้องบอกว่า คล้ายจริง ๆ ทั้งการแสดง ท่าทาง เพลงที่ใช้ (ดัดแปลงเป็นภาษาเขมร) รวมถึงชุดที่ใส่ด้วย แอดมินก็ไปค้นหาการแสดงลักษณะนี้ของเขมรมา ก็พบคลิปที่เก่าสุด เป็นคลิปปี ๒๕๓๔ (1991) แต่ตอนนั้นสิ่งที่แตกต่าง คือ “ลอมพอก (สวมหัว)” ตอนนั้นที่ใช้สวมเป็นทรงที่เขมรเคยใช้มาตลอดเป็นแบบโค้ง ๆ แต่ในคลิปปี ๒๕๖๗ นี้เห็นชัดว่า เขมรหันมาใช้ “ลอมพอก” แบบไทยเลย (หรืออาจจะมาซื้อที่ไทยก็เป็นไปได้) งั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักหนึ่งในการแสดงของไทย ที่คนทั่วไปไม่ค่อยจะรู้จักกัน . ในการแสดงชุดเทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง) ซึ่งเป็นการแสดงตลกเอกเทศ ไม่ต้องอิงกับการแสดงชุดอื่น ๆ ผู้เล่นต้องมีความสามารถค่อนข้างมาก ทั้งรู้ท่ารำ รู้จักทำนองเพลงต่าง ๆ รวมทั้งทำนอง เพลงสิบสองภาษาด้วย ในส่วนนี้จะเป็นเพลง “โนเน” ซึ่งในการแสดงเทวดาเบญจพรรณจะต้องมีทุกครั้ง ในส่วนหลังจะเป็นออกทำนองเพลงสิบสองภาษา . การแสดงเทวดาเบญจพรรณนั้น เป็นการแสดงที่มีมาแต่โบราณเชื่อมกันระหว่าง “โขน” กับ “สวดคฤหัสถ์” ใช้เพลง “โนเน (ยายโนเน)” ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านพื้นถิ่นของชุมชนบ้านบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มาประกอบการแสดง เดิมแล้วเพลงนี้ เป็นเพลงเกี้ยวกันระหว่างหนุ่มสาวรามัญหงสาวดี ที่อพยพติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมา และมีการสืบต่อพัฒนามาเป็นเพลงพื้นบ้านของชุมชนบ้านบางเก่าจนถึงปัจจุบัน . ครูมืด ประสาท ทองอร่าม เคยเล่าว่า การแสดงเทวดาเบญจพรรณชุดนี้มีมาแต่โบราณ ซึ่งได้ครูทั้ง ๒ ท่านที่ช่วยกันฟื้นฟูและประยุกต์ขึ้นมา เริ่มเมื่อประมาณ ๔๐-๕๐ ปีก่อน คือ ครูเสรี หวังในธรรม กับครูยอแสง ภักดีเทวา ที่สองท่านได้ร่วมแสดงด้วยกันมา ครูมืดเล่าต่อว่า ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักเพราะการแสดงชุดนี้ ไม่มีในหลักสูตรเรียนเหมือนตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ถ้าจะเรียนต้องมาเรียนกับครูโดนตรง และร่วมแสดงด้วยกัน . ในคลิปเป็นการแสดงเทวดาเบญจพรรณ (ตลกหลวง) ปี ๒๕๓๒ ของศูนย์สังคีตศิลป์ ครั้งที่ ๔๘๔ ควบคุมการแสดงโดย อาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี ๒๕๓๑ ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า . โดยมีผู้แสดง ๓ ท่านด้วยกัน คือ ๑. อ.ประพันธ์ ละมูลวงค์ (เป็นเทวดา) ๒. อ.ประสาท ทองอร่าม (เป็นลูกคู่) ๓. อ.ถนอม นวลอนันต์ (เป็นลูกคู่) . #โบราณนานมา #ตลกเอกเทศ #เทวดาเบญจพรรณ

About